fbpx
Design & Engineering Technology Institute
Line : @deti E-Mail : [email protected]
ติดต่อเรา 02-744 7827-8
เมนู02-744 7827-8

การวิเคราะห์ความเสียหายของชิ้นงานและการหาขนาดที่เหมาะสมขั้นสูง (SolidWorks Simulation Professional)

ตารางอบรม

ระยะเวลาการอบรม:
2 วัน
ค่าใช้จ่าย:
10,000 บาทราคานี้ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิม 7%
ราคานี้ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิม 7%
สาขาที่เปิดสอน:
Online, บางนา
คูปองที่สามารถใช้ได้:
SolidWorks Simulation Training

วิทยากร

วสันต์ จันทร์หยวก

ทำความรู้จักกันก่อน : - ชอบการเรียนรู้แบบไม่สิ้นสุด ยิ่งการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การสอบถามพูดคุยกันในห้องเรียน ยิ่งทำให้ความรู้ใหม่ ๆ ยิ่งถามตอบยิ่งหายเหนื่อยครับ - นอกจากการเรียนรู้ในหนังสือ จะแนะนำเพื่อให้สามารถนำไปใช้จริงได้ โดยเฉพาะงานวิเคราะห์ จะให้มากกว่าที่เคยเห็นในอินเตอร์เน็ต มาเรียนรู้ด้วยกันครับ

COURSE OVERVIEW

หลักสูตร การวิเคราะห์ความเสียหายของชิ้นงานและการหาขนาดที่เหมาะสมขั้นสูง

เป็นหลักสูตรสอนการใช้งานโปรแกรม SolidWorks Simulation Professional เหมาะสำหรับผู้ใช้งานโปรแกรม SolidWorks Simulation ที่ต้องการเพิ่มเติมการใช้งานโปรแกรมวิเคราะห์ความแข็งแรง เชิงวิศวกรรมเพื่อวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนมากขึ้น หลักสูตรครอบคลุมการ วิเคราะห์ทางไฟไนต์ เอลิเมนต์ : การวิเคราะห์ปัญหาด้านการถ่ายเทความร้อน (Heat transfer analysis) การวิเคราะห์ความถี่ธรรมชาติ (Frequency analysis) การวิเคราะห์การหักโค่น (Bucking analysis) การวิเคราะห์  ความล้า และการทำนายอายุการใช้งาน (Fatigue and life prediction analysis) และการวิเคราะห์การตกกระทบ (Drop test analysis) และ Optimization analysis

ความรู้พื้นฐานของผู้เข้าอบรม

  1. สามารถใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
  2. ผ่านการอบรมคอร์ส SolidWorks Essentials
  3. ผ่านการอบรมคอร์ส SolidWorks Simulation

 

อบรมที่สถาบัน / สอนสดออนไลน์  :  ค่าอบรม 10,000 บาท (ราคานี้ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

คอร์สเรียนวีดีโอออนไลน์ : สมัครเรียนได้ที่นี่>>  www.deticourseonline.com

อบรมนอกสถานที่ :  ติดต่อเจ้าหน้าที่ 02-7447827-8  หรือ Line : @deti

เนื้อหาบทเรียน

  • วันที่ 1

    การวิเคราะห์ความถี่ธรรมชาติ (Frequency Analysis) ของชิ้นงาน (Parts)
    - การวิเคราะห์ความถี่ธรรมชาติกรณี ชิ้นงานวางอิสระและ กรณีมีการจับยึดชิ้นงาน
    - การพิจารณารูปแบบของการเกิดความถี่ธรรมชาติของชิ้นงาน (rigid body modes)
    - ผลของการจับยึดชิ้นงานที่มีต่อการวิเคราะห์ค่าความถี่ธรรมชาติ
    - การวิเคราะห์ความถี่ธรรมชาติกรณีที่มีการกำหนดค่าความเค้นเริ่มต้น (Prestess condition)

    การวิเคราะห์ความถี่ธรรมชาติ (Frequency Analysis) ของชุดประกอบ (Assemblies)
    - การพิจารณาค่าความถี่ธรรมชาติกรณีของชุดประกอบ (Assemblies)
    - การกำหนดลักษณะการประกอบชิ้นงาน (contacts and connectors) อย่างเหมาะสม

    วิเคราะห์ความวิบัติเนื่องจากการโก่งเดาะ (Buckling Analysis)
    - การกำหนดการวิเคราะห์ความวิบัติเนื่องจากการโก่งเดาะ
    - ศึกษาค่าความปลอดภัยเนื่องจากการโก่งเดาะ (buckling factors of safety) และการพิจารณาความเสียหาย
    ระหว่างความแข็งแรงและความมีเสถียรภาพของชิ้นงาน

    การพิจารณาและการจัดการภาระโหลด (Load Cases)
    - เข้าใจและสามารถใช้ Load Case manager ในการช่วยจัดการภาระโหลด และจำลองผลที่เกิดขึ้นภาระโหลด
    - พิจารณาการวิเคราะห์การถ่ายเทความร้อนกรณีไม่คงตัว (transient) และ ตัวควบคุมอุณหภูมิ (trermostat)
    - พิจารณาการใช้เงื่อนไขขอบเขตการถ่ายเทความร้อนของชิ้นงานที่มีลักษณะแบบสมมาตร
    - การสร้างภาพตัดชิ้นงาน (section view) เพื่อพิจารณาผลการวิเคราะห์
    การวิเคราะห์การถ่ายเทความร้อนด้วยการแผ่รังสีความร้อน (Thermal Analysis with Radiation)
    - พิจารณาการวิเคราะห์การถ่ายเทความร้อนกรณีคงตัว (steady state) และ การแผ่รังสีความร้อน (radiation)
    - พิจารณาผลการวิเคราะห์การถ่ายเทความร้อนเนื่องจากผลของการแผ่รังสีความร้อน (radiation)

    อ่านทั้งหมด
  • วันที่ 2

    การวิเคราะห์ความเค้นเนื่องจากถ่ายเทความร้อน โดยการลดรูปเป็น 2 มิติ (Thermal Stress 2D Simplification)
    - พิจารณาการวิเคราะห์ความเค้นเนื่องจากการถ่ายเทความร้อนของชุดประกอบ
    - การพิจารณาปัญหาการวิเคราะห์โดยการลดรูปเป็น 2 มิติ ( 2D simplification)

    การวิเคราะห์ความล้า กรณีช่วงกว้างแรงกระทำคงที่ (Fatigue Analysis)
    - เข้าใจหลักการเบื้องต้นของความล้า (fatigue)
    - เข้าใจวิธีการและกระบวนการ การกำหนดข้อมูลการวิเคราะห์ความล้า (fatigue analysis)
    - เข้าใจหลักการ S-N curves
    - กำหนดข้อมูลการวิเคราะห์ความล้า กรณีช่วงกว้างแรงกระทำคงที่ ที่มีหลายเหตุการณ์
    - พิจารณาผลการวิเคราะห์ความล้า

    การวิเคราะห์ความล้า กรณีช่วงกว้างแรงกระทำไม่คงที่ (Variable Amplitude Fatigue)
    - เข้าใจ กรณีช่วงกว้างแรงกระทำไม่คงที่แบบมีบันทึกข้อมูลการทดสอบ และการตั้งค่ากรณีศึกษา
    - พิจารณาผลการวิเคราะห์ความล้า กรณีช่วงกว้างแรงกระทำไม่คงที่

    การวิเคราะห์การตกกระแทก (Drop Test Analysis)
    - การพิจารณาการวิเคราะห์การตกกระแทก
    - การพิจารณาแบบจำลองวัสดุที่มีความยืดหยุ่นแบบพลาสติก (elasto-plastic material model)
    - การวิเคราะห์ผลการตกกระแทกแบบพลวัต (dynamic analysis)

    การวิเคราะห์หาค่าความเหมาะสมการออกแบบ (Optimization Analysis)
    - การพิจารณาการวิเคราะห์หาค่าความเหมาะสมการออกแบบ จากกรณีศึกษา

    การวิเคราะห์ความแข็งแรงของวัสดุ (static analysis) และการวิเคราะห์ความถี่ธรรมชาติ (frequency analysis)
    - พิจารณาผลการวิเคราะห์หาค่าความเหมาะสมการออกแบบ (Optimization Analysis)

    การวิเคราะห์ถังรับความดัน (Pressure Vessel Analysis)
    - การใช้ Simulation Pressure Vessel Design module ในการพิจารณาการวิเคราะห์ถังรับความดัน
    - สร้าง linear และ SRSS combinations ของการพิจารณาโหลดที่เกิดขึ้นกับชิ้นงาน
    - Evaluate stress results. การพิจารณาผลของความเค้นที่เกิดขึ้น

    อ่านทั้งหมด

ตารางอบรม

ระยะเวลาการอบรม:
2 วัน
ค่าใช้จ่าย:
10,000 บาทราคานี้ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิม 7%
ราคานี้ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิม 7%
สาขาที่เปิดสอน:
Online, บางนา
คูปองที่สามารถใช้ได้:
SolidWorks Simulation Training